ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สนใจอยู่ 3 ประเด็นที่สำคัญ

SEO หรือ search engine optimization เป็นเทคนิคที่ทำให้เว็บไซต์ถูกค้นเจอได้ง่าย เมื่อมีคนพิมพ์หาด้วย keyword หนึ่ง ๆ ในช่อง Search ของ Google จะปรากฏเว็บไซต์ขึ้นมามากมาย เว็บไซต์ที่อยู่อันดับต้น ๆ มาจากการทำ SEO ได้ดีก็จะมีโอกาสได้รับการสั่งซื้อสินค้าและเป็นที่จดจำในกลุ่มผู้ใช้งานได้มากขึ้น

เจ้าของเว็บไซต์ทุกคนต่างมุ่งหวังอันดับต้น ๆ ในหน้าต่างการสืบค้น ที่เรียกว่าส่วนของออร์แกนิก SERPs หรือ search engine result pages เพราะมีการเก็บสถิติวิจัยด้านการตลาดพบว่าเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับ 1-5 ของ Organic SERPs จะมียอดขายสินค้ามากกว่าเว็บไซต์อันดับล่างลงไป จำนวนหลายเท่าตัว จึงหมายถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย

การทำเว็บไซต์ SEO นั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สนใจอยู่ 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ

โครงสร้างหรือผังเว็บไซต์

ส่วนโครงสร้างหรือผังของเว็บไซต์ มีความจำเป็นที่ต้องใช้งานง่าย แยกหมวดหมู่ของสินค้าให้เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายประทับใจ และควรมี chatbot หรือระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ มาเป็นผู้ช่วยในการตอบคำถามง่าย ๆ ให้กับผู้ใช้บริการ เพราะจะสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและประหยัดเวลาให้ผู้บริโภคประทับใจมากขึ้น

คุณภาพของเนื้อหา

ในเว็บไซต์ต้องมีหัวใจหลักคือ เนื้อหาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งมีการผลิตรูปหรือสื่อมัลติมีเดียที่แตกต่างจากเว็บไซต์อื่น ๆ จึงจะทำให้ระบบ algorithm ของ Google ประเมินว่ามีความน่าสนใจสูง ทำให้ได้คะแนน SEO ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่มีการคัดลอกบทความหรือรูปภาพมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่จะทำให้ถูกแบนหรือลดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย

การทำลิงก์เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ภายนอก

เมื่อมีการผลิตบทความแล้ว ควรที่จะใส่ Reference หรือแหล่งอ้างอิงของข้อมูล เพื่อเป็นการให้คุณค่าแก่เว็บไซต์ที่นำข้อมูลมาใช้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการทำ backlink เพื่อเชื่อมโยงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาน่าสนใจ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมส่งเสริมการขายซึ่งกันและกันได้ การมี backlink ที่มีคุณภาพสูงจะช่วยให้อันดับ SEO ดีขึ้น และขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นได้

การทำ SEO ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์สามารถศึกษาจากหนังสือและฝึกทำได้ด้วยตัวเองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือจะจ้างบริษัททำก็ได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องทราบว่าการทำ SEO ต้องใช้ระยะเวลาในการสะสมข้อมูลที่มีคุณภาพ 3 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ดังนั้นการจ้างทำ SEO เท่ากับเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจด้วย

ทั้งนี้ ควรมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการทำ SEO โดยใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Google search Console ที่จะแสดงค่าสถิติด้านการเข้าชม ประสิทธิภาพของการใช้ keyword แต่ละคำ ความสามารถเชื่อมโยงลูกค้าเข้ามาจากแต่ละลิงก์ ฯลฯ เพื่อให้วางแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ SEO ได้อย่างเหมาะสมต่อไป เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางให้ทุกท่านนำไปต่อยอดเพื่อให้มียอดขายที่ดีและมีลูกค้าที่มากขึ้นได้จากการทำ SEO

ทำไมผู้เชี่ยวชาญถึงแนะนำให้ทำ SEO ให้เว็บไซต์ 2019

วิธีแก้ 404 Error ในเว็บไซต์ SEO

404 Error เป็นปัญหาที่เกิดจากการเชื่อมโยงลิงก์ไม่สมบูรณ์ หรือมีบางเพจถูกลบข้อมูลไป ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการจัดอันดับ SEO ที่ลดลงจาก Google กระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าเมื่อเปิดเจอเพจที่เข้าถึงข้อมูลไม่ได้

การแก้ปัญหา 404 Page Not Found สามารถที่จะทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การแก้ไขผ่าน Rank Math SEO

ก่อนอื่นเจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ดูแลต้องตรวจสอบก่อนว่า เว็บไซต์มีลิงก์ที่เป็น Error 404 หรือไม่ โดยเข้าไปที่ Google search Console ซึ่งเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์คุณภาพของเว็บไซต์ ว่าสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ SEO หรือไม่ โดยเข้าไปดูในหัวข้อของ Crawl Error หรือหน้ารวมผลความผิดพลาดของเว็บไซต์

หากพบว่ามีเพจที่ปรากฏข้อผิดพลาด 404 Error ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งชื่อ URL ที่มีปัญหา Hit หรือ จำนวนการเข้าใช้งานและ Access time ที่หมายถึงเวลาใช้งาน เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ให้เข้าไปในฟังก์ชันที่ชื่อ Redirections ของ Rank Math SEO เพื่อทำการเปลี่ยน URL address ที่ให้เชื่อมโยงใหม่ ซึ่งจะสามารถกำหนดค่าได้ว่าจะให้เป็นการเปลี่ยนชั่วคราวหรือถาวรใน URL addressนั้น จากนั้นกดคำว่า activate อีกครั้ง เพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์

แต่หากต้องการพิสูจน์ให้มั่นใจ 100 เปอร์เซนต์ ว่า Redirections ทำงานจริงหรือไม่ ให้เข้าไปที่ฟังก์ชัน Redirections ของ Rank Math SEO อีกครั้ง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของ URL address ที่ตั้งคำสั่งเข้าไปใหม่เมื่อสักครู่

2. การแก้ไขด้วย plugin ชื่อ Redirections

หลังจากเช็คว่ามี 404 Page Not Found ใน Google Search Console แล้ว ให้เข้าไปที่หัวข้อ Tools แล้วเลือก Direction หลังจากนั้นให้คัดลอก URL addressที่มีปัญหา มาใส่ในช่อง Source URL และนำ URL ใหม่ใส่ลงไปในช่อง Target URL แล้วกดที่คำว่า Add Redirection เพื่อเป็นการยืนยันคำสั่ง

หลังจากนั้น ต้องไปยืนยันอีกครั้งที่ Google search Console ทำเครื่องหมายว่าผ่านการแก้แล้ว หรือ Mark as fixed อีกครั้งเสมอ ซึ่งหากมีหลายเพจที่มีปัญหา 404 Error นี้ ก็ต้องทำกับแต่ละ URL address เช่นนี้จนครบ ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาค่อนข้างมาก

3. การแก้ไขผ่าน Yoast SEO

การทำเช่นนี้ ต้องเป็นแบบ Yoast SEO รุ่นพรีเมี่ยมเท่านั้น โดยสามารถแก้ไขได้สะดวก ไม่ต้องแก้ทีละจุดอย่าง plugin Redirections โดยให้ไปที่ หัวข้อ Search Console ของ Yoast SEO และคลิกที่ Get Google Authorization Code เพื่อนำรหัสที่ระบบแจ้ง มาใช้ในการดึงลิงก์ URL address ที่มีปัญหาจาก Google มาแสดงให้เห็น เพื่อแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว โดยจะอยู่ในหมวด 301 Redirect และไม่ต้องไปทำการกด Mark as Fixed ใน Google search Console อีกครั้ง

จะเห็นได้ว่าเทคนิคการแก้ไข 404 Error มีอยู่หลายแบบ ซึ่งคุณสามารถที่จะเรียนรู้การทำงานของแต่ละ plugin ทั้งแบบฟรีและเวอร์ชั่นพรีเมี่ยมได้ เพื่อที่จะปรับคุณภาพของเว็บไซต์ให้เข้าสู่ระบบ SEO ได้อย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น

การแก้ปัญหา 404 Page Not Found